ขนมถ้วย ถือเป็นเมนูที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองไทยเรามาช้านาน โดยต้นกำเนิดของขนมชนิดนี้แท้จริงแล้วมาจากคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพมาอยู่ในไทย โดยชื่อเต็ม ๆ นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ฮวดโก้ย ซึ่งมีความหมายว่าความเจริญรุ่งเรือง ชาวไทยเชื้อสายจีนจึงมักนำเมนูนี้มาใช้สำหรับไหว้เจ้าหรือนำไปประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ สีก็สามารถจำแนกได้ตามงานที่ใช้ เช่น สีแดงจะนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ส่วนงานไหว้บรรพุบุรุษหรืองานอวมงคลจะใช้เป็นสีขาวเป็นหลัก
ชวนเข้าครัว ทำเมนู ขนมถ้วย ขนมหวานไทย แสนอร่อย

เมื่อพูดถึงเมนูขนมหวาน เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนในที่นี้จะต้องนึกถึงเมนู ขนมถ้วยโบราณ กันอยู่แน่นอน เพราะจุดเด่นของเมนูนี้ ไม่เพียงแต่จะมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มละมุนแล้วเท่านั้น แถมรสชาติของเมนูนี้ก็จัดได้ว่ามีความหวานกำลังพอดี และยังเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดนิยมที่ถูกนำมาทานคู่กับเมนูก๋วยเตี๋ยวเรืออีกด้วย แต่การจะทำให้หอมอร่อยได้นั้น ก็จำเป็นต้องใช้ขั้นตอนที่พิถีพิถันอยู่เหมือนกัน ในวันนี้เราจึงจะพาทุกคนเข้าครัวไปทำเมนูขนมถ้วย กัน จะมีวิธีการทำอย่างไรบ้างนั้น ตามเราไปดูกันเลย
วัตถุดิบสำหรับการทำ ขนมไทย โบราณ

- แป้งข้าวเจ้า 200 กรัม
- แป้งมัน 100 กรัม
- แป้งท้าวยายม่อม 3 ช้อนโต๊ะ
- กะทิ 300 กรัม
- น้ำ 800 มิลลิกรัม
- ใบเตย 2 ถ้วยตวง
- สีเขียวผสมอาหาร 2 ช้อนโต๊ะ
- กลิ่นใบเตย 1 ช้อนชา
- หัวกะทิ 700 มิลลิกรัม
- น้ำ 150 มิลลิกรัม
- เกลือป่น 3 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 40 กรัม
วิธีการทำ ขนม ไทย ง่ายๆ

- ขั้นตอนแรกให้นำน้ำใบเตยที่เตรียมไว้ลงไปใส่ในเครื่องปั่น แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปเล็กน้อย จากนั้นให้เริ่มปั่นอาหารจนกว่าเนื้อจะเนียนละเอียดได้ที่ แล้วทำการกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ได้น้ำใบเตยใส ๆ ออกมาจากผ้ากรอง
- ต่อมาให้เตรียมชามสำหรับผสมอาหารให้พร้อม จากนั้นใส่น้ำตาลปี๊บพร้อมกับน้ำเพียงเล็กน้อย แล้วทำการคนส่วนผสมให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อน้ำตาลปี๊บเริ่มละลายได้ที่แล้วให้ค่อย ๆ เติมแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเจ้า และแป้งมันตามลงไป จากนั้นใช้ตะกร้อคนส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้ง
- เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้ใส่กะทิ น้ำใบเตย กลิ่นใบเตย และสีผสมอาหารลงไปในแป้งเพื่อให้ได้สีสันที่ดูสวยงาม จากนั้นทำการกรองแป้งด้วยตะแกรงอีกหนึ่งรอบ แล้วให้พักตัวแป้งทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที
- สำหรับการทำหน้า ขนมถ้วย ให้เริ่มจากนำน้ำตาล แป้ง กะทิ และน้ำสะอาดมาผสมรวมกันแล้วคนจนกว่าเนื้อจะเนียนละเอียดได้ที่ จากนั้นนำไปกรองในตะแกรงถี่จนกว่าส่วนผสมจะเนียนละเอียด
- ขั้นตอนต่อไปให้ทำการต้มน้ำลงในหม้อให้เดือดโดยใช้ไฟกลาง จากนั้นนำซึ้งนึ่งมาวางไว้พร้อมกับนำถ้วยขนมมาอุ่นให้ร้อนก่อน
- ภายหลังจากที่ถ้วยเริ่มร้อนได้ที่แล้วให้หยอดขนมที่เตรียมไว้ลงไปในถ้วย แล้วปิดฝาหม้อไว้เป็นเวลา 8 นาที หลังจากที่ครบเวลาแล้วให้หยอดน้ำกะทิลงไปบนหน้าขนมถ้วยแล้วทำการนึ่งต่ออีกประมาณ 7 นาที
- หลังจากที่ครบกำหนดแล้ว ให้นำขนมถ้วยออกมาพักทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องแล้วรอจนกว่าขนมถ้วยจะเย็นได้ที่ เพียงเท่านี้ก็ได้ ขนม ไทย ทำ ง่าย พร้อมรับประทานกันได้เลย
แจกสูตร ขนมถ้วย น้ำตาลแดง

แจก สูตร ขนม ไทย แสนอร่อย วิธีการทำ ขนม หวาน ไทย สูตรน้ำตาลแดงนี้จะเน้นการใช้น้ำตาลมะพร้าวเป็นหลัก ทำให้เนื้อสัมผัสที่ทานเข้าไปมีกลิ่นหอมจาง ๆ ของน้ำตาลมะพร้าวและน้ำตาลทรายแดง ผสมอยู่ในขนมถ้วย ว่าแต่ว่าวิธีการทำ ขนม โบราณ สูตรนี้จะมีทีเด็ดอย่างไร ไปดูกันดีกว่า
วัตถุดิบสำหรับการทำ ขนม ถ้วย สูตรน้ำตาลแดง
- แป้งข้าวเจ้า 300 กรัม
- แป้งท้าวยายม่อม 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลมะพร้าว 500 กรัม
- น้ำ 1000 กรัม
- หัวกะทิ 500 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 50 กรัม
- น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 2 ช้อนชา
วิธีการทำ ขนมไทย ทำเอง

- ขั้นตอนแรกของ สูต ร ขนม ถ้วย ให้นำแป้งข้าวเจ้าและแป้งท้าวยายม่อมมาผสมในน้ำสะอาดแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำตาลมะพร้าวที่เตรียมไว้ตามลงไป แล้วทำการกรองด้วยกระชอนหนึ่งครั้ง
- นำหัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือป่น และน้ำตาลทรายมาผสมให้เข้ากัน จากนั้นตั้งซึ้งนึ่งพร้อมกับจุดแก๊สด้วยไฟกลาง
- รอจนกว่าน้ำข้างล่างจะเดือดได้ที่ แล้วให้นำขนมถ้วยมาวางในซึ้งนึ่งจากนั้นหยอดแป้งลงไปในขนมถ้วย แล้วปิดฝานึ่งไว้ประมาณ 20 นาที
- เมื่อถึงเวลาแล้วให้เปิดฝาแล้วใส่กะทิลงไปบนขนมถ้วย แล้วนึ่งต่อเป็นเวลา 10 นาที เพื่อให้เนื้อกะทิแตกมันสวย เพียงเท่านี้ก็พร้อมรับประทานขนมถ้วยได้เลย
สุดยอดเมนู ขนมถ้วย ขนมไทยโบราณ ทำง่าย ใช้เวลาไม่นาน

สำหรับเมนู ขนม ไทย ที่เราพาทุกคนเข้าครัวไปชมกันในวันนี้ จัดเป็นเมนู ขนมไทย ที่ทำง่ายและใช้วัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น แถมรสชาติของขนมก็มีความหอมมันกำลังดี และใช้เวลาในการทำไม่นาน ไม่ว่าใครได้ทานก็ต้องติดใจทุกรายแน่นอน สำหรับใครที่อยากจะลิ้มลองเมนูขนมโบราณแสนอร่อยกันดูสักครั้ง เราเชื่อว่าสูตรขนมถ้วยที่เราเตรียมมาในวันนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีให้กับทุกคนได้ไม่น้อยเลยล่ะ
อ่านบทความอื่นๆ: